Categories
Uncategorized

คริปโตเคอเรนซี่ ทรัพย์สินดิจิตอลที่มีมูลค่าในตัวของมันเอง

คริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) คือทรัพย์สินดิจิตอลที่มีมูลค่าในตัวของมันเองและเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนและจับต้องไม่ได้ แต่สามารถทำการซื้อขายกันได้ทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น คริปโตเคอเรนซึ่ไม่ใช่เงินสกุลต่างๆ ที่ออกมาโดยกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานกลางทางการเงินของรัฐบาลประเทศต่างๆ โดยปกติเราจะเรียกหน่วยของคลิปโตเคอเรนซี่เหรียญหรือ   โทเคน (Token) คลิปโตเคอเรนซี่เป็นสกุลเงินที่ไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของและไม่มีการควบคุมหรือแทรกแซงใดๆ จากหน่วยงานกลางของรัฐใดๆในระหว่างการทำธุรกรรม และสามารถทำการซื้อขายกันได้ทั่วโลกด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมาก

ตั้งแต่ปี 2009 เริ่มมีการนำบิทคอยล์มาค้าขายกัน โดยกำหนดจำนวนของเหรียญไว้คงที่จำนวน 21 ล้านเหรียญ ต่อมาในปี 2011 ได้มีการออก Namecoin และ Litecoin ออกมา

ปัจจุบันมีคริปโตเคอเรนซี่ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากกว่าหนึ่งพันสกุล คลิปโตเคอเรนซี่ที่เป็นที่นิยมซื้อขายกันรองจากบิตคอยล์ คือ Ethereum, Ripple, Litecoin และ Bitcoin Cash เป็นต้น

กระบวนการทำงานของคลิปโตเคอเรนซี่

ในการทำธุรกรรมระหว่างกันต้องมีการเข้ารห้สคลิปโตเคอเรนซี่ด้วยวิธีการเข้ารหัส (Cryptography) ที่แข็งแรงและมีการลงบันทึกเวลา (Timestamping) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทรานแซคชั่น (Transaction) นั้น ผู้ซื้อและผู้ขายเป็นผู้ที่เข้ารหัสที่ต้นทางและถอดรหัสที่ปลายทางเอง การซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่ระหว่างกันจะทำผ่านเทคนิคที่เรียกว่าบล็อกเชน (Blockchain) ที่ทำงานบนอินเตอร์เน็ตอีกชั้นหนึ่ง ในลักษณะของการประมวลผลแบบกระจาย (Decentralized Processing) ไม่ได้ผ่านการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์กลางใดๆ

การขุด (Mining) คือขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของทรานแซคชั่นในบล็อกเชน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ขุด (Miner) เมื่อประสบความสำเร็จในการขุดก็จะได้รับคลิปโตเคอเรนซี่เป็นรางวัล เป็นการลดต้นทุนค่าธรรมเนียมในการขุดและเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ขุดเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของอุปกรณ์ของตน

วิธีการซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่

            โดยปกติแล้วผู้ต้องการซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่จะสามารถทำได้สองวิธีคือ วิธีแรก       นักลงทุนต้องมีกระเป๋าคลิปโตเคอเรนซี่ (Wallet) ซี่งทำหน้าที่เก็บคีย์ (Keys) และที่อยู่ (Address) ทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนตัว ไว้สำหรับจ่ายและรับเงินเวลาที่ทำการซื้อขายและเปิดบัญชีบนเวปของผู้ให้บริการซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่ โดยทั่วไปนักลงทุนมักซื้อเก็บเอาไว้เพื่อขายทำกำไรเมื่อราคาสูงขึ้น แต่ก็จะต้องระวังการถูกขโมยข้อมูลจากแฮกเกอร์หรือโอกาสที่จะขาดทุนจากความไม่แน่นอนของราคา

         อีกวิธีหนึ่งคือการซื้อสัญญาจากโบรกเกอร์ในรูปของสัญญาซื้อขายส่วนต่าง หรือ CFD (Contract for Difference) ซึ่งนักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาที่เคลื่อนไหวโดยไม่ต้องซื้อคลิปโตเคอเรนซี่จริง

Bitcoin, cryptocurrency and blockchain technology: laptop connected to a network of concepts

การซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยคลิปโตเคอเรนซี่ไม่ถือว่าเป็นเงินตามพ.ร.บ. เงินตรา เพราะไม่มีทุนสำรองเป็นสินทรัพย์ประกันและไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินปกติได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์จะต้องเร่งออกกฎหมายเพื่อรองรับผลกระทบจากการทำธุรกรรมการซื้อขายคลิปโตเคอเรนซี่ที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่ในด้านของการลงทุนนักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้โดยผ่านบริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ที่ยังดำเนินกิจการอยู่จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัทบิทคับ ออนไลน์ จำกัด และบริษัทสตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

เครดิตภาพ Gettradeway, UCFTODAY, The Regulatory Review

#คลิปโตเคอเรนซี่ #ทรัพย์สินดิจิตอล #Bitcoin Cash